July 27, 2024

อำนาจปกครองบุตรตามกฎหมายไทย

ถาม: อำนาจปกครองบุตรประเภทใดบ้างที่ศาลไทยจะรับพิจารณา

ตอบ: ศาลเยาวชนและครอบครัวไทยจะตัดสินคดีที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

*การขอสิทธิอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว

*ขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขอำนาจปกครอง

*ก่อตั้งอำนาจปกครองตามกฎหมาย

*คดีค่าอุปการะเลี้ยงดู

*สิทธิในการเยี่ยมบุตร

*สิทธิในอำนาจปกครองร่วมกัน

*การสิ้นสุดของอำนาจปกครอง

ถาม: กฎหมายว่าด้วยสถานะความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและกฎหมายว่าด้วยสิทธิใน อำนาจปกครองบุตร เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ตอบ: ตามกฎหมายไทย ผู้ปกครองทั้งบิดาและมารดาย่อมมีอำนาจเต็มในการปกครองบุตร ไม่ว่าบิดาและมารดาจะได้สมรสกันตามกฎหมายหรือไม่ ประเด็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้น คือ เรื่องสิทธิความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายไทยเรียกร้องให้บิดามีสถานะความเป็นผู้ปกครองตามกฎหมายด้วย เช่นเดียวกับบิดาตามความเป็นจริงที่จะต้องมีสิทธิในฐานะบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือที่เรียกว่าการก่อตั้งสถานะความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นนี้สำคัญต่อการพิจารณาสิทธิปกครองบุตรของบิดา เนื่องจากการเป็นบิดาตามความเป็นจริงไม่อาจรับรองได้ว่าบิดาจะมีอำนาจในการปกครองบุตรหรือไม่

ถาม: สิทธิความเป็นบิดาตามกฎหมายจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบ: สิทธิความเป็นบิดาจะเกิดขึ้นจากคำตัดสินของศาลในเรื่องสถานะความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในบางกรณีความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายกับความเป็นบิดาตามข้อเท็จจริงอาจแตกต่างกันได้ คดีลักษณะนี้อาจจะเกิดจากการที่บิดาตามความเป็นจริงยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อต้องการได้สิทธิความเป็นบิดาโดยชอบ หรืออาจจะเป็นกรณีที่มารดาเป็นคนยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้บิดาตามความเป็นจริงมีสถานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเรียกร้องให้บิดารับผิดชอบในค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ถาม: จะต้องมีนักสังคมสงเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการดำเนินคดีเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตรด้วยหรือไม่

ตอบ: นับตั้งแต่เริ่มคดีที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความผาสุขของเด็ก เช่นในเรื่องอำนาจปกครองนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม ด้านจิตวิทยา และสุขภาพของเด็กเป็นสำคัญ

ศาลจะกำหนดให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เข้ามามีบทบาทในการหาข้อมูลด้านผลกระทบทางสังคมเพื่อใช้ในการพิจารณาในแต่ละคดี โดยทั่วไปจะมีการนัดทั้งผู้ปกครองละเด็กไปสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล

ถาม: ศาลไทยจะให้ความคุ้มครองเด็กและครอบครัวของเด็กอย่างไรบ้าง

ตอบ: คดีเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตรนี้จะอยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ปัจจัยสำคัญที่ศาลจะใช้ในการตัดสินเรื่องอำนาจปกครองบุตร คือ ความผาสุขและประโยชน์ของเด็กเอง โดยคุณสมบัติของผู้ปกครองและพัฒนาการของเด็กจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหลักในการพิจารณาเป็นสำคัญ

กฎหมายว่าด้วยการรับบุตรบุญธรรมของไทย

ถาม: ตามกฎหมายไทย อนุญาตให้ชาวต่างชาติรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมได้หรือไม่

ตอบ: ทำได้ แต่อย่างไรก็ตามตามกฎหมายก็มีขั้นตอนการตรวจสอบ ควบคุมซึ่งขั้นตอนต่างๆนี้มักกินเวลานาน และนำไปสู่การสืบสวนข้อเท็จจริงและการเตรียมเอกสารต่างๆ

ถาม: มีองค์กรของเอกชน หรือของรัฐที่จะเป็นตัวแทนในการรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทยหรือไม่

ตอบ: ถึงแม้ว่าการรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทยโดยผู้รับบุตรบุญธรรมมีสัญชาติไทย จะเป็นการดำเนินการไปตามขั้นตอนให้ถูกต้องเท่านั้น แต่สำหรับการที่คนต่างชาติจะรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทยย่อมมีขั้นตอนยุ่งยากกว่ามาก

เมื่อชาวต่างชาติต้องการที่จะรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทย ต้องมีการติดต่อกับทางศูนย์อำนวยการรับบุตรบุญธรรม กรมกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

และในประเทศไทยไม่มีองค์กรที่เป็นตัวแทนในการรับบุตรบุญธรรมให้กับพ่อ แม่บุญธรรมชาวต่างชาติที่ถูกกฎหมาย

การดำเนินการขออนุญาตรับบุตรบุญธรรมของชาวต่างชาติจะต้องผ่านการพิจารณาจากศูนย์อำนวยการรับบุตรบุญธรรม กรมกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่มีองค์กรเอกชนใดๆที่ดำเนินการร่วมกับกรมฯโดยตรง และก็ไม่มีองค์กรเอกชนใดที่ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนในการหาเด็กมาเป็นบุตรบุญธรรมให้กับพ่อแม่ชาวต่างชาติ

ถาม: ในการจะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ตอบ: โดยทั่วไป สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) คู่สมรสที่จะรับบุตรบุญธรรมจะต้องทำการสมรสกันมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน

2) คู่สมรสที่จะรับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุอย่างน้อย 25 ปีบริบูรณ์ทั้งคู่

3) คู่สมรสที่จะรับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

4) กฎหมายภายในของคู่สมรสที่จะรับบุตรบุญธรรมจะต้องอนุญาตให้ทำการรับบุตรบุญธรรมด้วย

5) คู่สมรสที่จะรับบุตรบุญธรรมที่เป็นชาวต่างชาติจะต้องได้รับการยืนยันจากตัวแทนผู้มีอำนาจในประเทศของตนก่อนที่ศูนย์อำนวยการรับบุตรบุญธรรม กรมกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะเริ่มต้นพิจารณาคำขอรับบุตรบุญธรรม

ถาม: จะต้องใช้เวลาดำเนินการรับบุตรบุญธรรมนานแค่ไหน

ตอบ: ระยะเวลาในการดำเนินการอาจแตกต่างกันไปได้ โดยทั่วไประยะเวลามักจะขึ้นอยู่กับการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ และระยะเวลาของกระบวนการของรัฐ

ความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายไทย

ตามกฎหมายไทยความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอาจเริ่มขึ้นได้จาก 2 กรณี คือ 1)โดยการสมรสดดยชอบด้วยกฎหมายกฎหมายตั้งแต่ก่อนเด็กเกิด และ 2)โดยคำสั่งศาล

ในบางสถานการณ์ ความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอาจได้มาจากกระบวนการทางปกครองก็ได้ กรณีมักจะเป็นการที่ฝ่ายชายเป็นพ่อที่แท้จริงทางพฤตินัยและมีความสัมพันธ์กับลูกมาโดยตลอด เพียงแต่ไม่มีปัจจัยตามที่กฎหมายกำหนดในการขอเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้

ถาม: ทำไมความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือสิทธิความเป็นพ่อ ถึงเป็นเรื่องสำคัญ

ตอบ: ความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายจะมีความสำคัญมากเมื่อต้องพิจารณาถึงอำนาจปกครองบุตร หรือสิทธิในการดูแลบุตร พ่อมักจะตัดสินใจดำเนินการเพื่อให้ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อสิทธิในการใช้อำนาจปกครองบุตร และแม่ก็มักจะดำเนินการเพื่อให้พ่อมีความเป็นบิดาโดยชอบเพื่อจะขอค่าเลี้ยงดูบุตร

ในทางกลับกันก็จะมีบางกรณีที่ฝ่ายชายปฏิเสธความเป็นบิดาโยชอบด้วยกฎหมายเช่นกันทำให้เกิดการสู้คดีเรื่องความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายขึ้น

ถาม: มีกฎหมายไทยว่าด้วยความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ตอบ: กล่าวโดยสรุป เด็กที่เกิดจากบิดา มารดาที่สมรสกันถูกต้องตามกฎหมายเด็กที่เกิดมาก็ย่อมเป็นบุตรโดยชอบของทั้งบิดาและมารดา ส่วนเด็กที่เกิดในระหว่างที่บิดา มารดาไม่ได้สมรสถูกต้องตามกฎหมายโดยปกติจะถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดาเท่านั้น

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ความเป็นมารดาโดยชอบเกิดขึ้นอัตโนมัต ต่างจากความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายจะเกิดขึ้นเมื่อมีข้อเท็จจริงครบตามองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเมื่อผู้ใดมีชื่อเป็นบิดาตามใบเกิด(สูติบัตร)ของเด็ก ก็ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

ถาม: พ่อที่เป็นชาวต่างชาติจะสามารถมีสิทธิเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ตอบ: สำหรับเด็กที่เกิดในประเทศไทย กฎหมายที่ใช้บังคับเรื่องการได้มาซึ่งสิทธิความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นพ่อชาวต่างชาติ หรือพ่อที่มีสัญชาติไทยก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ในการที่จะมีสิทธิความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องมีข้อเท็จจริงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดกล่าวคือ จะต้องมีการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาและมารดาในขณะที่เด็กเกิด หรือจะต้องมีการฟ้องให้ได้มาซึ่งสิทธิความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย

ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งไม่ได้มีสัญชาติไทย ในการพิจารณาการได้มาซึ่งสิทธิความเป็นบิดาโดยชอบจำเป็นที่จะต้องพิจารณากฎหมายขัดกันและกฎหมายต่างประเทศร่วมด้วย

ถาม: แล้วถ้าป็นกรณีการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นอย่างไร

ตอบ: ถ้าในกรณีการรับบุตรบุญธรรมสิทธิความเป็นผู้ปกครองของพ่อ แม่บุญธรรมมีขึ้นด้วยขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม ในการรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยโดยปกติจะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสที่ไม่ใช่พ่อ แม่ที่แท้จริงของเด็กที่รับเป็นบุตรบุญธรรม

ถาม: แล้วสัญชาติเป็นเงื่อนไขสำคัญในการได้สิทธิบิดาโดยชอบหรือไม่

ตอบ: พ่อ แม่ชาวต่างชาติที่สมรสตามกฎหมายไทยสามารถที่จะดำเนินการเพื่อให้ลูกที่เกิดมาได้สัญชาติของตน (ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย) ได้ ในการดำเนินการเพื่อได้สัญชาติแต่ละประเทศก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ปกติแล้วการดำเนินการต่างๆมักจะต้องติดต่อกับทางสถานทูตของประเทศนั้นๆในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการเพื่อให้เด็กที่เกิดมามีสิทธิในสัญชาติของทั้งพ่อและแม่ (ถือสองสัญชาติ)

ถาม: จะพิสูจน์ความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้อย่างไร หากไม่มีการสมรสตามกฎหมาย

ตอบ: การดำเนินการเพื่อให้ได้ความเป็นบิดาโดยชอบในกรณีที่ไม่ได้มีการสมรสระหว่างบิดาและมารดาของเด็กนั้น ต้องยื่นเป็นคดีต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับบิดาที่เป็นชาวต่างชาติกระบวนการได้มาซึ่งสถานะความเป็นบิดาโดยชอบจะแตกต่างออกไปตามกฎหมายของต่างประเทศ โดยที่แต่ละประเทศก็จะมีกฎหมายภายในบัญญัติเรื่องสัญชาติและสิทธิความเป็นพลเมืองไว้แตกต่างกัน ถ้าเป็นกรณีของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสามารถทำได้ที่สถานทูตประเทศตน(ตามสัญชาติ) ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

กฎหมายว่าด้วยการอุปการะเลี้ยงดูบุตรของประเทศไทย

ถาม: ปกติแล้วคดีเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูบุตรมักเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้างในประเทศไทย

ตอบ: คดีการแย่งสิทธิในการดูแลบุตรมักจะเกิดขึ้นได้ทั้งในกรณีที่บิดาและมารดาทำการสมรสกันถูกต้อง มีการหย่าขาดจากกันและสมรสใหม่ หรือในกรณีไม่ได้ทำการสมรสตามกฎหมาย โดยทั่วไปมักจะเป็นกรณีของมารดาเด็กฟ้องร้องผู้ที่เป็นบิดาที่แท้จริงของเด็กเพื่อขอให้มีการอุปการะเลี้ยงดู อย่างไรก็ตามก็อาจจะเป็นกรณีที่บิดาที่มีอำนาจปกครองบุตรฟ้องร้องให้มารดาเด็กร่วมอุปการะเลี้ยงดู

ถาม: ในประเทศไทย การทำข้อตกลงหรือสัญญาเกี่ยวกับ การอุปการะเลี้ยงดูบุตร จำเป็นต้องทำขึ้นในศาลหรือไม่

ตอบ: ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีหย่าแล้วหากบิดาและมารดา สามารถตกลงเรื่องหน้าที่ในการอุปการะบุตรกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวสามารถกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหย่าได้ และถ้าเป็นกรณีที่บิดา มารดาเด็กตกลงเรื่องสัญญาหย่ากันได้ ข้อตกลงเรื่องหน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นสามารถบันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหย่า

แต่ถ้าเป็นกรณีที่บิดา มารดาเด็กไม่ได้สมรสกันตามกฎหมายแล้วการตกลงประนีประนอมกันในเรื่องหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูก็ยังสามารถทำได้ด้วย อย่างไรก็ตามการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงเรื่องหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูมักทำได้ยากในกรณีที่ไม่ได้มีคำสั่งศาลให้ต้องปฏิบัติ โดยทั่วไปหากบิดา มารดาฝ่ายใดผิดสัญญาไม่ทำหน้าที่ต้องอุปการะตามที่ตกลงก็มักจะมีการฟ้องขอให้ศาลบังคับตามข้อตกลงเรื่องหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูต่อไป

ถาม: จะเป็นอย่างไรถ้าหากบิดา มารดา ไม่สาม่ารถตกลงเรื่องหน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูบุตรกันได้

ตอบ: หากบิดา มารดาไม่สามารถที่จะตกลงกันเรื่องหน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้แล้ว สามารถจะฟ้องเป็นคดีต่อศาลให้กำหนดเรื่องหน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ ถ้าเป็นกรณีที่บิดาไม่มีสถานะความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะต้องให้ศาลพิจารณาประเด็นความเป็นบิดาโดยชอบก่อน จึงจะพิจารณาเรื่องหน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูต่อไป คดีที่เกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทยจะขึ้นตรงกับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ในการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น ศาลจะพิจารณาปัจจัยต่างๆประกอบการกำหนดหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรด้วย

ถาม: ศาลจะพิจารณาจำนวนรวมของค่าเลี้ยงดูที่จะต้องใช้ได้อย่างไร

ตอบ: ถ้าศาลตัดสินให้บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งมีหน้าที่จ่ายค่าเลี้ยงดู ศาลจะคำนึงถึงรายรับของผู้มีหน้าที่ ค่าใช้จ่ายของเด็ก และปัจจัยอื่นๆรวมกันเพื่อให้ได้ยอดรวมของค่าอุปการะเลี้ยงดูที่เด็กและบิดาหรือมารดาอีกฝ่ายจะได้รับ

เรื่องอำนาจปกครองบุตรตามกฎหมายไทย

ถาม: อำนาจปกครองเด็กประเภทใดบ้างที่ศาลไทยจะรับพิจารณา

ตอบ: ศาลเยาวชนและครอบครัวไทยจะตัดสินคดีที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

*การขอสิทธิอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว

*ขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขอำนาจปกครอง

*ก่อตั้งอำนาจปกครองตามกฎหมาย

*คดีค่าอุปการะเลี้ยงดู

*สิทธิในการเยี่ยมบุตร

*สิทธิในอำนาจปกครองร่วมกัน

*การสิ้นสุดของอำนาจปกครอง

ถาม: กฎหมายว่าด้วยสถานะความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและกฎหมายว่าด้วยสิทธิในอำนาจปกครองบุตรเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ตอบ: ตามกฎหมายไทย ผู้ปกครองทั้งบิดาและมารดาย่อมมีอำนาจเต็มในการปกครองบุตร ไม่ว่าบิดาและมารดาจะได้สมรสกันตามกฎหมายหรือไม่ ประเด็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้น คือ เรื่องสิทธิความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายไทยเรียกร้องให้บิดามีสถานะความเป็นผู้ปกครองตามกฎหมายด้วย เช่นเดียวกับบิดาตามความเป็นจริงที่จะต้องมีสิทธิในฐานะบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือที่เรียกว่าการก่อตั้งสถานะความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นนี้สำคัญต่อการพิจารณาสิทธิปกครองบุตรของบิดา เนื่องจากการเป็นบิดาตามความเป็นจริงไม่อาจรับรองได้ว่าบิดาจะมีอำนาจในการปกครองบุตรหรือไม่

ถาม: สิทธิความเป็นบิดาตามกฎหมายจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบ: สิทธิความเป็นบิดาจะเกิดขึ้นจากคำตัดสินของศาลในเรื่องสถานะความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในบางกรณีความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายกับความเป็นบิดาตามข้อเท็จจริงอาจแตกต่างกันได้ คดีลักษณะนี้อาจจะเกิดจากการที่บิดาตามความเป็นจริงยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อต้องการได้สิทธิความเป็นบิดาโดยชอบ หรืออาจจะเป็นกรณีที่มารดาเป็นคนยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้บิดาตามความเป็นจริงมีสถานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเรียกร้องให้บิดารับผิดชอบในค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ถาม: จะต้องมีนักสังคมสงเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการดำเนินคดีเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตรด้วยหรือไม่

ตอบ: นับตั้งแต่เริ่มคดีที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความผาสุขของเด็ก เช่นในเรื่องอำนาจปกครองนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม ด้านจิตวิทยา และสุขภาพของเด็กเป็นสำคัญ

ศาลจะกำหนดให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เข้ามามีบทบาทในการหาข้อมูลด้านผลกระทบทางสังคมเพื่อใช้ในการพิจารณาในแต่ละคดี โดยทั่วไปจะมีการนัดทั้งผู้ปกครองละเด็กไปสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล

ถาม: ศาลไทยจะให้ความคุ้มครองเด็กและครอบครัวของเด็กอย่างไรบ้าง

ตอบ: คดีเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตรนี้จะอยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ปัจจัยสำคัญที่ศาลจะใช้ในการตัดสินเรื่องอำนาจปกครองบุตร คือ ความผาสุขและประโยชน์ของเด็กเอง โดยคุณสมบัติของผู้ปกครองและพัฒนาการของเด็กจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหลักในการพิจารณาเป็นสำคัญ

การหย่า ฟ้องหย่า จดทะเบียนหย่าในประเทศไทย (Divorce)

การพิจารณาโดยทั่วไปสำหรับ การหย่าในประเทศไทย

ในขณะที่การจัดการเรื่องการสมรสในประเทศไทยนั้นเป็น กระบวนการที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ การขอหย่าก็อาจจะมีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นอีกเล็กน้อย มีปัจจัยหลายประการที่จะเข้ามามีบทบาทเมื่อมีการประเมินว่าจะ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหย่าโดยชอบด้วยกฏหมายในประเทศไทย โดยปกติแล้วอาจกล่าวได้ว่า ถ้าปัจจุบันท่านหรือคู่สมรสของท่านอาศัยอยู่ในประเทศไทย ท่านสามารถยื่นฟ้องหย่าในประเทศไทยได้ ถ้าทั้งสองฝ่ายขอหย่าร่วมกัน การดำเนินการหย่าก็ค่อนข้างเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจ หรือไม่สามารถเข้าร่วมในการดำเนินคดีหย่าได้ กระบวนการทางกฏหมายก็อาจเกิดความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งโดยปกติแล้วจะมีความจำเป็นที่ต้องได้รับความช่วยเหลือบริการทางกฏหมายของ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฏหมายเพื่อแนะนำท่าน ในการดำเนินขั้นตอนซึ่งมีความซับซ้อนนี้ เรามีความรู้และความเข้าใจในตัวแปรหลายๆประการที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นในการดำเนินคดีหย่าที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และทนายความด้านการหย่าของเราจะให้บริการในลักษณะ ที่เป็นการเฉพาะบุคคล เพื่อให้ตรงตามความต้องการที่เป็น การเฉพาะของแต่ละท่าน

จะดำเนินการหย่าในประเทศไทยได้อย่างไร ถ้าทั้งคู่สมรสและตัวข้าพเจ้าเองยินยอมที่จะหย่า

ถ้าก่อนหน้านี้ท่านได้จดทะเบียนสมรสไว้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ (เขตหรืออำเภอ) ท่านอาจจะดำเนินการ จดทะเบียนหย่า ได้ ในประเทศไทย การดำเนินการหย่าที่สำนักงานเขตในพื้นที่นั้นกำหนดไว้ว่าท่านและคู่สมรสของท่านจะต้องไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องการปกครองบุตรหรือทรัพย์สิน ( “การหย่าที่ไม่มีการโต้แย้ง”) ถ้ามีสินทรัพย์ที่จะต้องแบ่งกันหรือในเรื่องที่เกี่ยวกับการปกครองบุตร ขอ แนะนำให้มีนักกฏหมายไปร่วมในการดำเนินการหย่าในลักษณะนี้ด้วย โดยปกติแล้วการเขียนสัญญาการหย่าไว้ล่วงหน้าจะเป็นการดี เมื่อจดทะเบียนหย่า เจ้าพนักงานจะถามคำถามท่านเกี่ยวกับแผนการในอนาคตของท่าน สถานการณ์ด้านการเงินและบุตร (ถ้ามี) และจะให้ท่านกรอกแบบฟอร์มที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขในการหย่าและเรื่องอื่น ๆ โดยในการหย่านั้นจะต้องมีพยานรับรองจำนวนสองคน

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่ามีการโต้แย้งการหย่า คู่กรณีจะต้องดำเนินการผ่านระบบศาล โดยในการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอหย่านั้น โจทก์หรือจำเลย (หรือทั้งสองคน) จะต้อง เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

จะเป็นอย่างไรถ้าคู่สมรสของข้าพเจ้าไม่ยอมหย่า

ถ้าภรรยาหรือสามีไม่ยินยอมหย่า ท่านจะต้องยื่นมูลฟ้องต่อศาล ในการดำเนินการหย่าในกรณีนี้ ตามระเบียบการดำเนินการหย่าแล้ว ท่านจะต้องอ้างมูลเหตุในการหย่าและท่านจะต้องมาแสดงตัวต่อศาลด้วยตนเอง โดยทั่วไปแล้วมูลเหตุในการหย่า หรือเหตุที่จะฟ้องหย่าในประเทศไทยมีดังนี้ :

*การแยกกันอยู่ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

*คู่สมรสฝ่ายไดฝ่ายหนึ่ง จงใจทิ้งร้างอีกฝ่ายเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป

*สามียกย่องหญิงอื่นเสมือนภรรยา

*สามีเป็นชู้หรือภรรยามีชู้

*คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำความผิด ประพฤติชั่วไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่

*คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

*คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำร้ายร่างการหรือจิตใจอีกฝ่ายอย่างร้ายแรง

*คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง

*คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหาย

*คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ

*คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้

*สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดไป

จะเป็นอย่างไรถ้าคู่สมรสของข้าพเจ้าหรือข้าพเจ้าอยู่ในต่างประเทศ

ถ้าไม่มีการโต้แย้งการหย่า ทั้งสองฝ่ายจะต้องมาที่ที่ทำการอำเภอเพื่อจดทะเบียนหย่าถ้าท่านสมรสและคู่สมรสของท่านไม่เห็นชอบกับการหย่าในประเทศไทย ท่านจะต้องขอคำตัดสินจากศาล ถ้าท่านอยู่ในต่างประเทศ ทนายความสามารถยื่นฟ้องหย่าแทนท่านได้ อย่างไรก็ตาม ท่านจะต้องมาด้วยตนเองเมื่อศาลพิจารณาการฟ้องหย่า ถ้าคู่สมรสของท่านไม่มาแสดงตัวหรือไม่กลับมายังประเทศไทยเพื่อโต้แย้งการหย่า ท่านยังสามารถดำเนินการได้ โดยที่มีเงื่อนไขว่าคู่สมรสของท่านต้องได้รับแจ้งถึงการดำเนินการหย่าอย่างเพียงพอเหมาะสมแล้ว จะต้องยื่นขอหมายจากศาลไทย ถ้าคู่สมรสของท่านไม่ได้อยู่ในประเทศไทย และอาจอนุญาตให้ดำเนินการอย่างอื่น (อย่างเช่น โดยการลงประกาศ) ในบางสภาพการณ์ ถ้าคู่สมรสของท่านไม่ตอบหมายศาลจะมีการดำเนินคดีหย่าโดยถือเป็นการผิดนัด

จะมีการแบ่งทรัพย์สินและหนี้สินค้างชำระกันอย่างไรในกรณีที่มีการหย่า

ประเทศไทยมี อำนาจตัดสินคดี ที่เกี่ยวข้องกับ “ สินสมรส ” เมื่อคู่สมรสจะหย่ากันในประเทศไทย ทรัพย์สินส่วนบุคคล (สินส่วนตัว) ซึ่งได้แก่สินทรัพย์และทรัพย์สินที่ถือครองมาก่อนการสมรส โดยปกติแล้วจะยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้เป็นเจ้าของ สินทรัพย์และทรัพย์สินที่ถือครองในระหว่างการสมรสนั้นโดยทั่วไปแล้วจะถือเป็นสินสมรสโดยที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ กฎซึ่งเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินนั้นมีความซับซ้อนและศาลไทยจะเป็นผู้แบ่งทรัพย์สินตามกฏหมายตามข้อเท็จจริงแต่ละประการในคดีหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างการสมรส ไม่ว่าที่เกี่ยวกับครอบครัว การรักษาพยาบาลหรือการศึกษานั้นโดยทั่วไปจะอยู่ในความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่าย

ถ้าข้าพเจ้ามีสัญญาก่อนการสมรสแล้วจะเป็นอย่างไร

ในประเทศไทยนั้นอนุญาตให้มีการทำสัญญาก่อนการสมรสได้โดยที่มีเงื่อนไขว่าจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดวิธีปฏิบัติในกฏหมายไทย สัญญาก่อนการสมรสที่จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องนั้นโดยปกติแล้วจะถือเป็นสัญญาที่มีผลใช้ได้ตามกฏหมายในเขตอำนาจศาล ในการที่จะให้สัญญาก่อนการสมรสมี ผลตามกฏหมายในเรื่องที่เกี่ยวกับ การสมรสที่จดทะเบียนในประเทศไทยนั้นจะต้องให้ทั้ง สองฝ่ายลงชื่อในสัญญา ตลอดจนมีพยานสองคนด้วย และจะต้องยื่นต่อสำนักงานเขตในพื้นที่ไว้เป็นการล่วงหน้า