September 23, 2023

การลักพาตัวเด็กไปสหรัฐอเมริกา

ประเด็นที่เกี่ยวกับเด็กที่ถือเป็นคดีลักพาตัวเด็กตามอนุสัญญากรุงเฮก นั่นคือการลักพาตัวเด็กไปสหรัฐอเมริกาจากประเทศที่ร่วมเป็นสมาชิกภายใต้อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการลักพาตัวเด็กข้ามชาติในทางแพ่ง และประเด็นนี้ยังช่วยในเรื่องการลักพาตัวจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก ถึงแม้ว่าในคดีแบบนี้จะมีข้อจำกัดมาก แต่ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ซึ่งลูกถูกนำตัวไปจากสหรัฐอเมริกาโดยฝ่าฝืนสิทธิดูแลโดยชอบธรรมของพ่อแม่ ประเด็นเกี่ยวกับเด็กดังกล่าว เราจะช่วยให้คุณหาเด็กเจอในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

คดีลักพาตัวตามอนุสัญญากรุงเฮก

การให้บริการของสำนักงาน รับผิดชอบประเด็นเกี่ยวกับเด็กเป็นไปตามคดีลักพาตัวรวมทั้ง

–          การรับคำขอสำหรับการกลับคืนหรือสิทธิในการใช้โดยผู้ร่างคำขอชาวต่างชาติ

–          การช่วยเหลือหลังจากที่พ่อแม่ของเด็กย้ายไปที่สหรัฐอเมริกา

–          การพยายามของอาสาสมัครในการเอาเด็กกลับคืนมาหรือโอกาสที่จะได้เด็กคืนมาเท่าที่เป็นไปได้

–          การช่วยเหลือหลังจากพ่อแม่ได้รับคำปรึกษาจากทนายความ รวมถึงทนายความคดีมรดกที่ทำงานโดยปราศจากค่าตอบแทนหรือค่าธรรมเนียมที่ลดลงสำหรับพ่อแม่ที่มีเงื่อนไขพิเศษ

–          การช่วยเหลือให้เด็กกลับสู่ภูมิลำเนาที่ต่างประเทศได้อย่างปลอดภัย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่สำนักกฎหมายของเรา

ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์

ให้คำปรึกษาและรับทำคดีอำนาจในการปกครองดูแลบุตรและคดีเกี่ยวกับครอบครัว

คดีลักพาตัวโดยไม่ใช่กรณีตามอนุสัญญากรุงเฮก

ถ้าคุณเป็นพ่อแม่เด็กซึ่งถูกลักพาตัวไปสหรัฐอเมริกาจากประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ภายใต้อนุสัญญากรุงเฮก อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการลักพาตัวเด็กไม่สามารถนำมาใช้กับกรณีที่เกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามสำนักงานของเราสามารถจัดหาความช่วยเหลือบางส่วนให้ได้ โดยบริการนั้นคือ

–          การรับคำขอร้องเพื่อการช่วยเหลือจากสถานทูตต่างชาติในสหรัฐอเมริกาหรือจากพ่อแม่ของเด็กโดยตรง

–          การให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมตามกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ภายในสหรัฐอเมริกา

–          อ้างอิงตามที่ครอบครัวต้องการเป็นหลัก ซึ่งเป็นไปตามคำร้องขอ

–          จัดเตรียมข้อมูลตามเว็บไซต์เกี่ยวกับแหล่งที่มาของกฎหมายเพื่อความปลอดภัยในสหรัฐอเมริกา

นอกจากนั้น พวกเรายังอ้างอิงกับพ่อแม่ถึงแหล่งที่มาที่มีความน่าเชื่อถือ ดังเช่นจาก

– สถานทูตในสหรัฐอเมริกา : บ่อยครั้งที่สถานทูตของประเทศที่เด็กถูกลักพาตัวมาสามารถจัดหาทนายความหรือตามตัวเด็กในสหรัฐอเมริกาให้

– การบังคับใช้ตามกฎหมาย : องค์กรตำรวจสากลเป็นองค์กรตำรวจนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยสมาชิก187ประเทศ ถ้าลูกของคุณถูกลักพาตัวจากประเทศที่เป็นสมาชิกองค์กรตำรวจสากล การปรึกษาให้เป็นไปตามการบังคับใช้กฎหมายในประเทศที่ซึ่งเด็กถูกนำตัวมาซึ่งขอความช่วยเหลือในการค้นหาโดยตำรวจสากลตามประกาศการตามหาเด็กหาย โดยพื้นฐานของประกาศและการลักพาตัวเด็กตามศูนย์ข้อมูลอาชญากรรมแห่งชาติ การบังคับใช้กฎหมายในสหรัฐอเมริกาสามารถช่วยในเรื่องการตามหาตัวเด็ก การบังคับใช้กฎหมายในประเทศที่เด็กถูกลักพาตัวไปสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจถ้าพ่อแม่ซึ่งนำลูกไปสหรัฐอเมริกาละเมิดกฎหมายของประเทศคุณ

– ศูนย์ป้องกันการละเมิดสิทธิเยาวชนแห่งชาติโดยกระทรวงยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (NCMEC) : NCMEC คือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรของหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐบาลในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือแก่คุณได้ ติดต่อได้ที่เว็บไซต์NCMEC หรือโทร1800

– ทนายความ : ขึ้นอยู่กับการร้องขอ สำนักงานของเราสามารถจัดหารายการค่าธรรมเนียมทนายความในพื้นที่ที่เด็กอยู่ได้ รวมถึงถ้าคุณได้รับสิทธิการเลี้ยงดูเด็กตามคำสั่งในประเทศคุณ คุณสามารถนำการบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งในสหรัฐอเมริกา ภายใต้รูปแบบคำสั่งของศาลในเรื่องสิทธิการเลี้ยงดูและกฎหมายว่าด้วยการบังคับใช้

“รูปแบบของการดำเนินชีวิต” ตามสัญญาก่อนสมรสที่ได้รับความนิยมขึ้นมาก

 

“รูปแบบของการดำเนินชีวิต” ตามสัญญาก่อนสมรสได้รับความนิยมขึ้นมาก เพราะรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่กำหนดตามสัญญาก่อนสมรสจะเป็นตัวกำหนดลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคู่สมรส รูปแบบอาจจะไม่กำหนดความรับผิดสำหรับการฝ่าฝืนข้อสัญญา แต่อาจกำหนดเป็นข้อตกลงลักษณะที่บอกวัตถุประสงค์ของสัญญาก่อนสมรส ส่วนรูปแบบข้อจำกัด มีบางตัวอย่างของการดำเนินการตามสัญญาก่อนสมรสรวมถึงการป้องกันการฉ้อโกงและที่เกี่ยวข้องกับการอบรมด้านศาสนาในอนาคตของลูกที่จะได้รับระหว่างสมรสกัน

บางคนเชื่อว่าการกำหนดรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ต่อชีวิตคู่ ข้อขัดแย้งตามที่สัญญาก่อนสมรสกำหนดสามารถช่วยให้คู่สมรสกำหนดเรื่องต่างๆไว้ล่วงหน้าว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้างในการแต่งงาน อย่างไรก็ตามอาจมีข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากสัญญาก่อนสมรสนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีนักและเป็นส่วนเล็กๆที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตการแต่งงาน

รูปแบบของการกำหนดการใช้ชีวิตมีข้อโต้แย้งที่น่าสนใจและเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในอเมริกา สำหรับคู่สมรสที่ตัดสินใจแต่งงานในเมืองไทยนั้น ทนายความที่ร่างสัญญาก่อนสมรสต้องจัดการคดีหย่าร้างด้วยประสบการณ์จริงและด้วยความเข้าใจว่าสัญญาก่อนสมรสจะสามารถนำมาใช้กับสถานการณ์การหย่าด้วยโดยสามารถเอาร่างสัญญาก่อนสมรสที่อาจจะกำหนดรูปแบบการใช้ชีวิตโดยเฉพาะในเรื่องคุณสมบัติ ทรัพย์สินและการเงินที่จะจัดการได้ในระหว่างแต่งงานเลย

สำนักกฏหมาย

ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์

ให้บริการที่ปรึกษา เรื่องการแต่งงานการหย่า รวมถึงการทำสัญญาก่อนสมรสระหว่างคู่สมรสทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

การแต่งงานตามระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีของสหรัฐอเมริกา

การแต่งงานตามระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีของสหรัฐอเมริกา กำหนดให้คู่สมรสอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสามีภรรยาตามเวลาที่เหมาะสมเพียงพอและต้องมีจุดประสงค์ที่จะมีความสัมพันธ์พิเศษลักษณะเดียวกับการแต่งงานและต้องได้สิทธิตามกฎหมายจากการจดทะเบียนสมรส อย่างไรก็ตามทุกรัฐไม่ได้ใช้ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีกับการแต่งงานเสมอไป

สำนักกฎหมาย

ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์

ให้บริการดำเนินการจดทะเบียนแต่งงานระหว่างชาวต่างชาติกับชาวไทย

รัฐนิวแฮมเชียร์เป็น1ใน16รัฐในอเมริกาที่ยังคงใช้ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีกับการแต่งงาน แต่จะใช้กับผู้ที่ถูกภาคทัณฑ์โดยเฉพาะ ภายใต้กฎหมายปัจจุบันของนิวแฮมเชียร์ คู่สมรสสามารถตัดสินใจแต่งงานได้ ถ้าพวกเขาสามารถอยู่ร่วมกันและยอมรับซึ่งกันและกันโดยต้องเป็นสามีภรรยากันอย่างน้อย 3 ปี หรือจนกระทั่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไปก่อน เมื่อมีคนหนึ่งตายไป คู่สมรสอีกฝ่ายจะได้รับมรดกโดยปราศจากขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่ต้องให้ทางรัฐยอมรับว่าตอนที่มีชีวิตอยู่ คู่สมรสดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน

เมื่อเร็วๆนี้ ผู้แทนของรัฐนิวแฮมเชียร์เสนอร่างกฎหมายใหม่ซึ่งยกเลิกการจำกัดการยอมรับของกฎหมายแบบจารีตประเพรีภายหลังการตาย แต่นักวิจารณ์ก็ได้โต้เถียงว่า กฎหมายของนิวแฮมเชียร์ไม่ควรจะยกเลิก แต่ควรกำหนดให้ดีขึ้นโดยความต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสามีภรรยา 3 ปี ควรต้องคงไว้ แต่อนุญาตให้พ่อม่ายที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมได้รับผลประโยชน์จากเงินประกันชีวิตจากการสมรสของเขา แต่ยังคงต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าการแต่งงาน แม้สิ้นสุดลงด้วยความตายแต่สิทธิจากการแต่งงานก็ยังคงมีอยู่

ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีในการแต่งงานของพลเมืองชาวอเมริกันกับชาวไทยในประเทศไทยนั้นไม่ได้รับการยอมรับ เพราะการแต่งงานตามระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีไม่มีในประเทศไทย มีเพียงการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการที่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย หรือถูกต้องตามกฎหมายและจะสามารถแต่งตั้งสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบของสามีภรรยาได้ตามกฎหมายครอบครัวของไทย

 

การยื่นเอกสารการหย่าในจีนที่เพิ่มขึ้น

การยื่นเอกสารหย่าในจีนมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นที่ประหลาดใจว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อมองดูการยื่นเอกสารหย่าเปรียบเทียบกับกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ ซึ่งดูเหมือนว่า2เรื่องนี้จะไม่สัมพันธ์กันแต่หากลองมองดูข้อบังคับของภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ทำให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมาย ซึ่งยกเว้นให้ผู้ที่หย่าร้างโดยเฉพาะคู่สมรสที่มีบ้าน2หลังถ้ายื่นเอกสารหย่า คู่สมรสต่างฝ่ายต่างสามารถเรียกร้องบ้าน1หลังเป็นของตนได้และพวกเขาต้องจ่ายค่าภาษีถ้าเป็นเจ้าของบ้านหลังที่2 (ถ้าบ้านถูกขาย)ดังนั้นคู่สมรสในจีนจึงต้องยื่นหย่า หรือขายบ้านหลังที่2และค่อยแต่งงานกันใหม่

ศูนย์การจดทะเบียนหย่าในจาเป่ยได้บันทึกการหย่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตามที่วงการธุรกิจภายใน ศูนย์เห็นว่า 250คนคนที่เป็นโสด จากเดิม 60-70คน

ที่น่าสนใจ คู่สมรสบางคนซึ่งยื่นหย่าตามความต้องการจริงๆ ระบุไว้ชัดเจนว่าพวกเขาต้องการเรียกร้องการยกเว้นภาษี ซึ่งเป็นแนวทางตามที่ปรากฏชัดในสังคมจีนปัจจุบัน ในปี2011คู่สมรสจีนที่ต้องการหย่ามีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการห้ามจำนองบ้านหลังที่3

รายการความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสภาพการแต่งงานที่มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวจึงมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องนั่นเอง

สำนักกฏหมาย

ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์

มีทนายผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาสำหรับชาวต่างชาติและชาวไทยที่มีปัญหาต้องการหย่าร้าง

ระยะเวลารอการหย่าสำหรับกฎหมายสหรัฐอเมริกา

บางรัฐในอเมริกามีการพิจารณาขยายระยะเวลาในการรอการหย่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคู่รักที่มีลูก  กฎหมายสำหรับการรอระยะเวลาการหย่าในสหรัฐอเมริกามีข้อสังเกตว่าช่วงรอระยะเวลาการหย่าที่สั้นจะนำมาสู่อัตราการหย่าที่สูง

ร่างกฎหมายของรัฐระบุว่า “การหย่าร้างมีสาเหตุมาจากความยากจน, ความผิดพลาดของเด็กและเยาวชน, ทุนการศึกษาที่จะให้เด็กในรัฐนั้นๆที่น้อยลง และการลดลงของการหย่าร้างให้เหลือน้อยลงเป็นผลดี ซึ่งฝ่ายที่เห็นตรงข้ามกับร่างกฎหมายจะโต้เถียงว่าการรอเป็นระยะเวลานานจะทำให้ผู้ประสบเคราะห์ร้ายจากความรุนแรงของครอบครัวจะต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานานขึ้น ถึงแม้ว่าการหย่าจะไม่ได้เกิดจากความรุนแรงในครอบครัวทั้งหมดแต่ผู้ที่สนับสนุนร่างกฎหมายก็เชื่อว่าจะช่วยให้การแต่งงานคงอยู่ได้ต่อไปและการลดการหย่าจะช่วยประหยัดเงินที่รัฐวอชิงตันจะต้องเสียไป

สำนักกฏหมาย

ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์

ให้บริการจดทะเบียนแต่งงาน จดทะเบียนหย่า สำหรับคู่รักชาวไทยและชาวต่างชาติ

 

รัฐดาโกต้าทางตอนเหนือก็กำลังร่างกฎหมายลักษณะคล้ายของวอชิงตันแต่มีระยะเวลาการรอเพียง6เดือน ซึ่งกรณีวอชิงตันมีเวลา1ปี และรัฐดาโกต้าตอนเหนือจะมีทนายความให้คำปรึกษากับคู่รักก่อนการหย่าร้าง

คนสัญชาติอเมริกันนั้นถ้าแต่งงานที่ประเทศไทยก็สามารถที่จะหย่าที่ประเทศไทยได้ ถ้าคู่สมรสตกลงหย่า ตามการจดทะเบียนหย่าของไทยจะใช้เวลาเพียง 1 วันก็จะเสร็จสมบูรณ์สำหรับขั้นตอนการจัดการเอกสารที่จำเป็น

 

ประมวลกฎหมายที่ดินของไทยฉบับแปล

ความเป็นเจ้าของที่ดินของไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497(ค.ศ.1954) และข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย

ประมวลฉบับภาษาไทยแบบสมบูรณ์ และ ฉบับแปลภาษาอังกฤษจัดทำขึ้นโดยบริษัทชนินาฎ แอนด์ ลีดส์ สำนักงานกฎหมายในกรุงเทพมหานคร โดยเนื้อหาในประมวลเกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงที่อธิบาย กฎ ข้อบังคับ ขั้นตอน เงื่อนไขการได้มาซึ่งที่ดินที่ใช้พักอาศัยโดยชาวต่างชาติ

หนังสือเล่มนี้ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนของโรงเรียนกฎหมายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หนังสือนี้ยังเป็นประมวลกฎหมายที่ดินฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษแบบเบื้องต้น จึงได้นำมาใช้ในหน่วยงานของรัฐ องค์กร และสำนักงานกฎหมาย

สำนักกฎหมาย

ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์

จัดทำประมวลกฎหมายที่ดินฉบับแปลภาษาอังกฤษเบื้องต้น สำหรับผู้ที่สนใจ หน่วยงานรัฐ องค์กร หรือสถานศึกษา

ประมวลกฎหมายที่ดินฉบับไทยอังกฤษโดยชนินาฎ แอนด์ ลีดส์นั้น สามาหาซื้อได้แล้วที่สถานที่ดังต่อไปนี้และเว็ปไซต์ :

  • บริษัทกรีนบุ๊คจำกัด
  • บริษัทแอดวานส์บุ๊คจำกัด
  • บริษัทเกรสบุ๊คจำกัด
  • บริษัทกรอเลีย อินเตอเน็ตชั่นแนล จำกัด
  • บริษัท คิโนคุนิยะ บุ๊คสโตร์ ไทยแลนด์ จำกัด
  • คุนากร
  • กรูมบุ๊คส์
  • บริษัท งานดี จำกัด
  • บริษัท เจนเนอเริลบุ๊คส์เซอร์วิส จำกัด
  • บริษัท ชมรมเด็ก จำกัด
  • ชมรมบัณฑิตแนะแนว
  • ชาญชัยบุ๊คสโตร์
  • บริษัทซาวน์ สวรรค์ จำกัด
  • บริษัท ซีบุคส์ จำกัด
  • บริษัท ซ๊ เอ็ดดรูเคชั่น พลับบลิค จำกัด
  • บริษัท เซนทรัล บุ๊คส์ดิสทริบูชั่น จำกัด
  • บริษัทดวงกมล จำกัด
  • บริษัท ดีเค บุ๊คส์เฮ้าส์ จำกัด สาขา ซีคอนสแควร์
  • บริษัท ดีเค บุ๊คส์เฮ้าส์ จำกัด
  • ดอกหญ้า(www.dokya.com)
  • บริษัท บี โนเลจ จำกัด
  • บริษัท โพรเฟสชันแนล บุ๊คส์ ช๊อป จำกัด
  • บรฺษัท ลีดเดอร์ เพลส จำกัด
  • บริษัท ต้นอ้อ จำกัด
  • บริษัท นานมี จำกัด
  • บริษัท ไนโฟน จำกัด
  • บริษัท บันกิจ เทรดดิ้ง จำกัด
  • บริษัท บุ๊คส์เน็ต จำกัด
  • บริษัท บุ๊คส์ไลท์ จำกัด
  • บริษัท เบรสบรุ๊ค จำกัด
  • บริษัท โพรวิชั่น จำกัด
  • บริษัท พีบี ฟอร์บุ๊คส์ จำกัด
  • บริษัท พีบี ฟอร์เล้นจ์ บุ๊คส์ เซ็นเตอร์ จำกัด
  • บริษัท พีเอส บุ๊คส์ จำกัด
  • บริษัท โฟร์คัท บุ๊คส์ จำกัด
  • ฟายน์อาร์ท 2545
  • บริษัท เมนี่ เฟสโต บุ๊คส์แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
  • เดอะ รอยัล อินสติตูล
  • เมเนเจอร์ บุ๊คส์
  • ร้านหนังสือ นายอินทร์
  • บริษัท เรือนปัญญา
  • บริษัท ลีดเดอร์ แอนด์ รีดเดอร์ จำกัด
  • บริษัท วิริยะ บิซิเนส จำกัด
  • บริษัท ศักด์สิทธ์ สยาม จำกัด
  • ศูนย์หนังสือจุฬา
  • ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
  • ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศูนย์หนังสือทีพีเอ
  • ศูนย์หนังสือพีเอส
  • ศูนย์หนังสือเอ็นเอสทีดีเอ (kharist@bookpoint.com)
  • บริษัท สยาม อินเตอร์ คอมมิค จำกัด
  • สำนักพิมพ์ข้าวตัง
  • ศูนย์หนังสือ เกร็ดตาฮี
  • สำนักพิมพ์ประพันธุ์สาร
  • บริษัท ไทย วัฒนาพาณิช จำกัด
  • สำนักพิมพ์ธรรมสภา
  • สำนักพิมพ์ไพลิน บุ๊คส์ เน็ต
  • สำนักพิมพ์โกมล เข็มทอง
  • บริษัท สำนักพิมพ์ร่วมสาน จำกัด
  • สำนักพิมพ์วิญญูชน
  • สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
  • บริษัท สุมาลัย สังคนีและเด็ก จำกัด
  • บริษัท ศูนย์หนังสืออมรินทร์ จำกัด
  • บริษัท อาคบุ๊คส์ จำกัด
  • บริษัท อิมเมจ โฟกัส จำกัด
  • บริษัท เอ บุ๊คส์ ดิสทริบรูชั่น จำกัด
  • ศูนย์หนังสือเอสเอส
  • บริษัท ไอดีซี อินโฟ ดิสอริบรูเตอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด

จำคุกรูปแบบใหม่ ไม่ต้องเข้าห้องขัง

ในอดีตเมื่อนักโทษได้รับโทษจำคุกก็ต้องเข้าห้องขัง แต่ปัจจุบันได้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำคุกโดยวิธีการอื่น ที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขต พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งกำหนดวิธีการลงโทษคนที่กระทำความผิดอาญา โดยไม่ต้องจำคุกในเรือนจำ แต่ให้เปลี่ยนมาเป็นการจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของนักโทษแทน โดยใช้อุปกรณ์รับส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว เรียกว่า EM หรือ “Electronic Monitoring” ซึ่งสามารถตรวจสอบการเดินทางของผู้สวมใส่ได้และให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมประพฤติโดยไม่ต้องถูกขังในเรือนจำ

สำนักกฏหมาย

ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์

รับปรึกษาปัญหาคดีอาญา รับดำเนินการคดีอาญาแก่บุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

การใช้วิธีการลงโทษแบบนี้ ต้องให้ศาลเป็นผู้ออกคำสั่ง โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เป็นผู้ยื่นคำร้อง ซึ่งเหตุในการใช้วิธีการลงโทษแบบใหม่ตามที่กฎกระทรวงระบุไว้ คือ ผู้ซึ่งต้องจำคุกจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก หรือจำเป็นต้องเลี้ยงดูบิดา มารดา สามี ภริยา หรือบุตร ซึ่งพึ่งตนเองมิได้และขาดผู้อุปการะหรือเจ็บป่วยและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือมีเหตุควรได้รับการทุเลาการบังคับให้จำคุกด้วยเหตุอื่น ๆ ทั้งนี้การจำกัดการเดินทางและอาณาเขต อาจจำกัดอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีไป โดยอาจให้อยู่แต่เฉพาะบริเวณบ้านพักอาศัยหรือในสถานที่ที่จัดไว้เป็นการเฉพาะ หรือกำหนดอาณาเขตที่ห้ามเดินทางก็ได้ หรืออาจจะใช้วิธีจำกัดการเดินทางเป็นบางช่วงเวลาก็ได้

มาตรการควบคุมนักโทษแทนการคุมขังในเรือนจำ ถือเป็นวิวัฒนาการ ที่ในหลายประเทศ อาทิเช่น อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ บราซิล อิสราเอล และเกาหลีใต้ได้นำเครื่องมือนี้ มาใช้แทนการคุมขังในเรือนจำแล้ว แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนาการของกฎหมายอาญาของไทย

แนวคิดการลงโทษแบบนี้จะช่วยให้เรือนจำแออัดน้อยลง และเปิดโอกาสให้นักโทษกลับคืนสู่สังคมได้ง่ายและเร็วขึ้น แต่ก็มีบางแนวคิดมองว่าเป็นการปล่อยอาชญากรออกมาอยู่นอกคุกเร็วกว่ากำหนดและอุปกรณ์ดังกล่าวอาจไม่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือพอและอาจทำให้คนไม่กลัวการกระทำความผิดเพราะวิธีการลงโทษไม่เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพจนเกิดความทุกข์ทรมานเกินไป

แม้ว่าจะมีข้อสังเกต ข้อกังวล จากสังคมอยู่มาก แต่คงต้องลองใช้วิธีการลงโทษดังกล่าวก่อนที่จะตัดสินว่าวิธีการนี้เหมาะสมกับสังคมไทยหรือไม่

ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ก้าวใหม่ของสังคมไทยสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน

ปัจจุบันมีคู่ชีวิตเพศเดียวกันจำนวนมากที่ใช้ชีวิตร่วมกันดั่งครอบครัวคู่รักชายหญิงทั่วไป แต่สถานภาพของคู่ชีวิตดังกล่าวกลับไม่มีกฎหมายรับรองไว้   ทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั้งในเรื่องสิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงได้   ซึ่งขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๖  และมาตรา ๓๐ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและตามหลักการในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพราะการปฏิเสธไม่ยอมรับให้คู่รักเพศเดียวกันสมรส อาจถูกมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันเพราะความแตกต่างทางเพศ หรือการเลือกปฏิบัติโดยเหตุผลเรื่องเพศนั่นเอง

มุมมองทางสังคมกฎหมายสำหรับการสมรสของคนเพศเดียวกันนั้น กฎหมายดังกล่าวจะนำมาซึ่งการที่คู่สมรสจะได้รับการยอมรับจากครอบครัว สังคม ถึงแม้ในปัจจุบันคู่รักเพศเดียวกันจะอยู่ด้วยกันได้อยู่แล้วเนื่องจากสังคมไทยมีประเพณีการแต่งงานตามวัฒนธรรมไทยโดยไม่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสมรสหรือที่เรียกว่าการสมรสโดยไม่จดทะเบียน แต่สังคมก็ยังมองว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง ถ้ามีกฎหมายมารับรองให้บุคคลเพศเดียวกันสมรสกันได้ น่าจะทำให้ความสัมพันธ์นี้มั่นคงกว่าที่เป็นอยู่

มุมมองในแง่กฎหมายนั้น ข้อจำกัดของกฎหมายไทย ในกฎหมายลักษณะครอบครัว บรรพ5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตรา 1448 ที่กำหนดไว้ว่า การสมรสจะทำได้ก็ต่อเมื่อ “ชายและหญิง” อายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ , มาตรา 1457 กำหนดว่า การสมรสตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น และ มาตรา 1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อ “ชายหญิง” ยินยอมเป็นสามีภรรยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ และมาตรา152 เรื่องต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด ทำให้คู่สมรสตามกฎหมายไทยปัจจุบันต้องเป็นคู่สมรสชายหญิงเท่านั้น  เพราะฉะนั้นมาตราต่างๆในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เป็นอุปสรรคต่อการสมรสของคู่สมรสเพศเดียวกันจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตที่จะออกมาใหม่ด้วย

มุมมองของความหลากหลายทางเพศนั้น ไม่ใช่แค่คนรักเพศเดียวกันที่จะสามารถสมรสกันได้เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวออกบังคับใช้ แต่ยังมีเรื่องคนข้ามเพศหรือบุคคลที่ได้รับการแปลงเพศแล้ว ดังนั้น การจะแก้ไขกฎหมายทางเพศ ต้องเริ่มจาก การแก้ไขสถานะทางเพศของบุคคลที่แปลงเพศแล้ว ควบคู่ไปกับกฎหมายการสมรสของคนเพศเดียวกันด้วย

ข้อกฎหมายที่เป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตนั้น มีดังนี้คือ

-นิยามของคำว่าคู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนที่จดทะเบียนกันตามพระราชบัญญัตินี้

-การจดทะเบียนจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้ว (ตามกฎหมายปัจจุบัน การบรรลุนิติภาวะคืออายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือจดทะเบียนสมรสกัน)

-บุคคลใดที่จดทะเบียนสมรสอยู่แล้ว มาจดทะเบียนคู่ชีวิต หรือจดทะเบียนคู่ชีวิตอยู่แล้ว ไปจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนครั้งหลังถือเป็นโมฆะ

-คู่ชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือเสมือนอยู่ในฐานะคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย

-คู่ชีวิตอาจเลือกใช้นามสกุลของอีกฝ่ายได้

-ในเรื่องทรัพย์สิน ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว หมวด 4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยามาใช้บังคับ (สิทธิในการจัดการทรัพย์สินเหมือนกับคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน)

-ในเรื่องมรดก ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก มาใช้บังคับ (คู่ชีวิตมีสิทธิรับมรดกเช่นเดียวกับคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน)

-คู่ชีวิตมีสิทธิต่างๆ ในฐานะคนในครอบครัว เช่น เป็นผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาแทนเจ้าตัวได้ เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นบุคคลในครอบครัวตามกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว เป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์หากคู่ชีวิตถูกสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ ฯลฯ

มุมมองความเป็นสากลของกฎหมายร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประเทศทางตะวันตกหลายประเทศเช่น ประเทศเดนมาร์ค ฝรั่งเศส เวอร์มอนด์ แคลิฟอร์เนีย เยอรมัน ใช้กฎหมายรับรองการใช้ชีวิตคู่ ลักษณะเดียวกับพระราชบัญญัตินี้ ส่วนประเทศแคนาดา เบลเยียม สเปน แอฟริกาใต้ นอร์เวย์ สวีเดน โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อาร์เจนติน่า ก็มีการแก้กฎหมายแพ่งพาณิชย์ลักษณะครอบครัว เพื่อให้มีการจดทะเบียนสมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกันได้ จะเห็นได้ว่าทั่วโลกได้ให้การยอมรับมากขึ้นสำหรับการจดทะเบียนสมรสของคู่รักเพศเดียวกัน  แต่ในเอเชีย ยังไม่มีประเทศใดให้การยอมรับกฎหมายลักษณะนี้เลย ฉะนั้นถ้าหากไทยผ่านร่างพระราชบัญญัตินี้ ก็จะเป็นประเทศแรกในเอเชีย ที่ให้การยอมรับเรื่องดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความมีอารยะธรรมและความก้าวล้ำด้านมุมมองและความเข้าอกเข้าใจในตัวเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในขณะที่ไทยกำลังจะเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน ร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นผู้นำในด้านสิทธิความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศด้วย

มุมมองในด้านความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องหากร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านสภาและออกบังคับใช้เป็นกฎหมาย เราคงจะได้เห็นคนต่างประเทศที่เป็นคู่รักเพศเดียวกันเข้ามาจดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทยมากขึ้นหากประเทศของเขาเองยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว รวมถึงเรื่องการขอวีซ่าคู่หมั้น วีซ่าแต่งงานของคนไทยในประเทศที่มีการออกกฎหมายแล้ว ระเบียบการขอคงต้องถูกนำมาใช้กับคู่สมรสเพศเดียวกันด้วย เห็นได้ว่าเรื่องกฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิตคงนำมาซึ่งเรื่องต่างๆอีกมากมาย

ฉะนั้นหากว่าร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตสามารถออกบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ เราคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมุมมองต่างๆของสังคม ยิ่งบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงอย่างบุคคลประเภทที่3หรือคู่รักเพศเดียวกัน คงจะได้รับการยอมรับจากสังคมไทยมากขึ้น และได้รับซึ่งสิทธิและหน้าที่เขาควรจะได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แม้ว่าร่างกฎหมายดังกล่าวดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับบุคคลเพียงกลุ่มเดียว แต่เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าหากร่างกฎหมายนี้ผ่านออกมาใช้บังคับ สังคมไทยคงได้ชื่อว่ามีความก้าวหน้าทางกฎหมายเป็นอย่างมาก

สำนักกฏหมาย

ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์

ให้บริการจดทะเบียนวีซ่าแต่งงาน วีซ่าคู่หมั้น สำหรับคู่รักชาวต่างชาติ

วีซ่าสหรัฐสำหรับคนไทย

วีซ่าสหรัฐสำหรับคนไทย โดยวีซ่าสหรัฐอเมริกานั้นสามารถทำได้ที่สถานฑูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเทพมหานคร คนไทยส่วนใหญ่จะขอวีซ่าสหรัฐอเมริกา 3 ประเภท คือ วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าแต่งงาน วีซ่าคู่หมั้น วีซ่าท่องเที่ยวมี 2 ประเภทคือ B1 และ B2 ซึ่ง B1 สำหรับคนที่ต้องการไปที่สหรัฐเพื่อประชุมทางธุรกิจ และ B2 เป็นวีซ่าท่องเที่ยว ส่วนใหญ่วีซ่าประเภทนี้สถานทูตจะพิจารณาว่าผู้ขอวีซ่ามีเจตนาจะพักอาศัยถาวรหรือไม่ ถ้ามีเจตนาที่จะพักอาศัยถาวรอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็มีโอกาสที่จะโดนปฏิเสธวีซ่า สำหรับวีซ่าคู่หมั้นเป็นวีซ่าที่นิยมมาก สถานทูตสหรัฐจะตรวจสอบว่าคุณเป็นคู่หมั้นที่จะแต่งงานกันที่สหรัฐและเป็นคู่รักกันจริงหรือไม่ สำหรับวีซ่าแต่งงานก็เป็นวีซ่าที่มีผู้นิยมมากเช่นเดียวกับวีซ่าคู่หมั้น สถานทูตจะตรวจสอบหลักฐานการแต่งงานคล้ายกับวีซ่าคู่หมั้น วีซ่า วีซ่าแต่งงานสามารถที่จะได้พักอาศัยถาวรหรือกรีนการ์ดเร็วกว่า

ระยะเวลาการยื่นวีซ่า CR 1

ระยะเวลาการยื่นวีซ่า CR 1

การยื่นวีซ่า CR 1 มีจุดประสงค์เพื่อขอเป็นพลเมืองมีสิทธิอยู่อาศัยถาวรในประเทศสหรัฐอเมริกาแบบมีเงื่อนไข คือ มีระยะเวลาการแต่งงานกันไม่ถึง 2 ปี โดยขั้นแรกเริ่มต้นจาก พลเมืองที่มีสัญชาติอเมริกันมีสิทธิที่จะยื่น เพื่อให้คู่สมรสของตนได้ย้ายถิ่นอาศัยไปเป็นพลเมืองอเมริกันด้วยกัน  โดยยื่นแบบฟอร์มคำร้องขอที่ชื่อว่า I-130 ไปยัง USCIS ( United States of Citizenship and Immigration Service) ซึ่งเป็นสำนักงานพิจารณาการเข้ามาเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง USCIS จะส่งใบรับเพื่อเป็นการแจ้งว่าได้รับคำร้องขอแล้ว ซึ่งเรียกว่า NOA 1 (Notice of Action 1) และหากไม่มีการแก้ไขขอหลักฐานเพิ่มเติม และผ่านการพิจารณาแล้ว USCIS จะส่ง NOA 2 (Notice of Action 2 ) ไปยังผู้ยื่นขอวีซ่า โดยการพิจารณาในขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 4เดือน หลังจากนั้น USCIS จะส่งคำขอไปยัง NVC ( National Visa Center) หรือ ศูนย์อำนวยการวีซ่าแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจดูคำร้องขอวีซ่า ซึ่งระยะเวลาในขั้นตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 3 เดือนครึ่ง เมื่อ NVC พิจารณาหลักฐานเอกสารต่างๆแล้วเห็นสมควร ก็จะนัดผู้ยื่นขอวีซ่า สัมภาษณ์ที่สถานฑูต โดยผู้ยื่นขอวีว่าก็ต้องเตรียมเอกสารตัวจริง รวมทั้งใบรับรองแพทย์เพื่อเข้าสัมภาษณ์ในวันนั้นด้วย ในขั้นตอนจาก NVC พิจารณาเพื่อนัดสัมภาษณ์ อาจใช้เวลาประมาณ 2 เดือน หลังจากขั้นตอนการสัมภาษณ์ ผู้ยื่นขอวีซ่าจะทราบผลทันทีว่าผ่าน และผู้สัมภาษณ์ก็จะได้รับ VISA ภายใน 1 อาทิตย์หลังสัมภาษณ์ หรือ ในกรณีสถานฑูตอเมริกาต้องการเอกสารใดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่ผู้สัมภาษณ์ก็จะแจ้งแก่ผู้ยื่นขอวีซ่าหลังการสัมภาษณ์ทันทีเช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ยื่นขอวีซ่าจะจัดส่งเอกสารนั้นเมื่อใด และหลังจากส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้ว ประมาณ 1 เดือน ผู้ยื่นขอวีซ่าจึงจะได้รับวีซ่า

ทั้งนี้ในทุกๆขั้นตอน ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและ หลักฐานเอกสารต่างๆ ของผู้ยื่นขอวีซ่า ดังนั้น แต่ละคนอาจใช้ระยะเวลาแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณี