การแต่งงานตามระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีของสหรัฐอเมริกา กำหนดให้คู่สมรสอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสามีภรรยาตามเวลาที่เหมาะสมเพียงพอและต้องมีจุดประสงค์ที่จะมีความสัมพันธ์พิเศษลักษณะเดียวกับการแต่งงานและต้องได้สิทธิตามกฎหมายจากการจดทะเบียนสมรส อย่างไรก็ตามทุกรัฐไม่ได้ใช้ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีกับการแต่งงานเสมอไป
ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์
ให้บริการดำเนินการจดทะเบียนแต่งงานระหว่างชาวต่างชาติกับชาวไทย
รัฐนิวแฮมเชียร์เป็น1ใน16รัฐในอเมริกาที่ยังคงใช้ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีกับการแต่งงาน แต่จะใช้กับผู้ที่ถูกภาคทัณฑ์โดยเฉพาะ ภายใต้กฎหมายปัจจุบันของนิวแฮมเชียร์ คู่สมรสสามารถตัดสินใจแต่งงานได้ ถ้าพวกเขาสามารถอยู่ร่วมกันและยอมรับซึ่งกันและกันโดยต้องเป็นสามีภรรยากันอย่างน้อย 3 ปี หรือจนกระทั่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไปก่อน เมื่อมีคนหนึ่งตายไป คู่สมรสอีกฝ่ายจะได้รับมรดกโดยปราศจากขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่ต้องให้ทางรัฐยอมรับว่าตอนที่มีชีวิตอยู่ คู่สมรสดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน
เมื่อเร็วๆนี้ ผู้แทนของรัฐนิวแฮมเชียร์เสนอร่างกฎหมายใหม่ซึ่งยกเลิกการจำกัดการยอมรับของกฎหมายแบบจารีตประเพรีภายหลังการตาย แต่นักวิจารณ์ก็ได้โต้เถียงว่า กฎหมายของนิวแฮมเชียร์ไม่ควรจะยกเลิก แต่ควรกำหนดให้ดีขึ้นโดยความต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสามีภรรยา 3 ปี ควรต้องคงไว้ แต่อนุญาตให้พ่อม่ายที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมได้รับผลประโยชน์จากเงินประกันชีวิตจากการสมรสของเขา แต่ยังคงต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าการแต่งงาน แม้สิ้นสุดลงด้วยความตายแต่สิทธิจากการแต่งงานก็ยังคงมีอยู่
ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีในการแต่งงานของพลเมืองชาวอเมริกันกับชาวไทยในประเทศไทยนั้นไม่ได้รับการยอมรับ เพราะการแต่งงานตามระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีไม่มีในประเทศไทย มีเพียงการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการที่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย หรือถูกต้องตามกฎหมายและจะสามารถแต่งตั้งสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบของสามีภรรยาได้ตามกฎหมายครอบครัวของไทย
Speak Your Mind